วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

วัฒนธรรมไทยทรงดำ

  วัฒนธรรมไทยทรงดำ


“ ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง หรือ ไทยโซ่ง ” หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาไทย คนไทยเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ลาว หรือ ลาวโซ่ง เพราะอพยพจากเมืองเดียนเบียนฟู อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศเวียดนาม ผ่านมายังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
       

    ผู้ไทนิยมแต่งกายด้วยสีดำ จึงเรียก ไทยทรงดำ ตามลักษณะเครื่องแต่งกาย ถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณ แคว้นสิบสองจุไทย อยู่ทางตอนเหนือประเทศเวียดนาม ส่วนคำว่า “ โซ่ง ” ที่เรียกกันสันนิษฐานเป็นคำที่มาจากคำว่า “ ซ่วง หรือ ทรง ” แปลว่า กางเกง ไทดำถูกกวาดต้อนและอพยพมาใน ประเทศไทย    สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ลิงค์ที่น่าสนใจ

วัฒนธรรมไทยทรงดำ

ในตำบลบางกุ้ง




ประชากรในตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่มีเชื้อสายลาวโซ่ง หรือเชื้อสายถิ่นฐานเดิมในแคว้นสิบสองจุไทตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และแถบตอนใต้ของประเทศจีน มีศิลปวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน


ชาวไทยทรงดำได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๓๒๒ สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช (กรุงธนบุรี) ครอบครัวชาวไทยทรงดำ ถูกกวาดต้อนนำมาไว้ที่บ้านหนองปรง หนองเลา ท่าแร้ง จังหวัดเพชรบุรี แต่ด้วยนิสัยที่ชอบที่ดอน จึงอพยพมาอยู่ที่ เขาย้อย และบางส่วนอพยพกลับถิ่นเดิม จึงเป็นที่มาของชาวไทยทรงดำในจังหวัดต่าง ๆ


สำหรับ ลาวโซ่งไทยทรงดำ หรือไทดำตำบลบางกุ้งนั้น ได้อพยพมาอยู่ที่ตำบลบางกุ้งนี้ผ่านมา ๓ ช่วงอายุคนแล้ว ซึ่งอายุคนรุ่นที่ ๔ มีอายุประมาณ ๘๐ ปีขึ้นไป คาดว่าจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๔๘แต่เดิมลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ ได้อพยพมาอยู่เพียง ๒ กองเกวียน โดยการนำของนายกองอั้วกับนายกองอ้อม เดินทางมาจากเขาย้อย เพชรบุรี เพื่อจะเดินทางอพยพกลับถิ่นเดิม จึงเดินทางมุ่งสู่ทางเหนือ ประกอบกับการเดินทางที่ลำบากไม่ชำนาญทาง


เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเห็นทำเลบริเวณลุ่มน้ำคล้ายคลึงกับถิ่นเดิม และบริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะ กุ้ง ปลา ตามรอยเท้าสัตว์ป่า จะมีกุ้งใหญ่อยู่มากมาย จึงเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสม จึงยึดทำเลสองฝั่งลำน้ำ คือฝั่งตะวันออกเป็นของนายกองอั๊ว มีต้นมะขามเรียง


ส่วนนายกองอ้อม ยึดทำเลฝั่งตะวันตกของลำน้ำ ณ บริเวณนี้มีกุ้งมาก จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านบางกุ้ง ต่อมาประชากรเริ่มมากขึ้น จึงกระจายที่อยู่ไปสู่บ้านบางหมัน เหตุที่ชื่อบางหมันเพราะมีต้นไม้ใหญ่คือ ต้นหมัน ตามชื่อต้นไม้ เรียกตามภาษาไทยทรงดำหรือไทดำ

ต่อมามีกฏหมายการปกครองท้องถิ่น ให้มีการตั้งตำบลขึ้นและมีกำนันปกครอง จึงตั้งเป็นตำบลบางกุ้ง มีอาณาเขตของตำบลในสมัยนั้น ทิศเหนือติดกับบ้านเขาดินท่่าว้า ทิศใต้ติดกับบ้านศาลาขาว ทิศตะวันออกติดกับป่าสำดำ ทิศตะวันตกติดกับบ้านดอนมะขาม มีกำนันปกครองตั้งแต่ตั้งตำบลบางกุ้งถึงปัจจุบัน ๑๓ คน และปัจจุบันคือกำนันลำจวน อ้อมทอง


ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น เรียกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง มีกำนันพงษ์ศิริ ศิริพรรณาภิรัตน์ เป็นประธานกรรมการบริหาร และผู้ใหญ่บ้านลำจวน อ้อมทองในสมัยนั้น ต่อมาได้มีการยกฐานะให้เปลี่ยนชื่อจากประธานกรรมการบริหาร เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง


ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง เป็นเทศบาลตำบลบางกุ้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑


ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๕ เป็นชาวไทยทรงดำ ประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งของชาวลาวโซ่ง คือ ประเพณีไทยทรงดำ ซึ่งประเพณีนี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยเทศบาลตำบลบางกุ้ง และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้มีการจัดเป็นประเพณีไทยทรงดำขึ้นทุกปี


โดยกำหนดจัดงานไทยทรงดำขึ้นในวันที่ 6 เมษายนของทุกปี ภายในงานจะประกอบด้วย ชาวไทยทรงดำจากทั่วประเทศร่วมงานประเพณี ด้วยการแต่งกายในชุดไทยทรงดำ มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามให้คงอยู่สืบไป


 ซึ่งสถานที่ที่เราจะไปกันและมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยทรงดำนั่นคือ วัดบางกุ้งใต้ ( วัดอัมพวณาราม ) เเละ บึงลาดตะค่อน 


วัดบางกุ้งใต้ 


สำหรับวัดบางกุ้งใต้ จะเป็นสถานที่ใช้จัดประเพณีไทยทรงดำ ของวัฒนธรรมไทยทรงดำ ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในทุกๆวันที่ 6 เมษายน ทุกปี โดยมีการนำกลับขึ้นมาจัดโดยเทศบาลตำบลบางกุ้ง ตั้งเเต่ปี 2545 





เเละมีศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยทรงดำ เเละในวันงานประเพณีไทยทรงดำก็จะมีการเปิดให้เข้าชมรวมถึงมีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยทรงดำขายอีกด้วย



บึงลาดตะค่อน

อาชีพส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านชาวตำบลบางกุ้งทำกันนั่นคือ เกษตรกร ซึ่งก็จะมีนาล้อมรอบบริเวณบึงลาดตะค่อนเนื่องจาก ชาวบ้านนำน้ำจากบึงในการดูเเล พืช ข้าว เเละ ต้นไม้ต่างๆ รวมถึง บึงลาดตะค่อน ยังเป็นเเหล่งน้ำที่สำคัญ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากบึงลาดตะค่อนมาอุปโภคเเละบริโภค






วัฒนธรรมไทยทรงดำในปัจจุบันค่อยๆจางหายไปตามการเวลาเนื่องจากชาวบ้าน มักจะสืบทอดความเป็นชาวลาวโซ่ง ผ่านการสั่งสอนเเละการพูด เเต่ไม่มีการจดบันทึก ทำให้คนรุ่นหลัง ไม่สามารถพูดภาษาลาวโซ่ง รวมถึงเข้าใจในตัววัฒนธรรม ดังนั้นเราควรที่จะต้องสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจกับทุกคนให้เข้าใจถึงรากฐานที่สำคัญของวัฒนธรรมทุกๆวัฒนธรรม


แหล่งอ้างอิง : http://www.obtwangchan.go.th/site/index.php? option=com_content&view=article&id=90:2560&catid=3:newsflash&Itemid=63
https://bangkunglocal.go.th/public/list/data/detail/id/2166/menu/1545/page/1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัฒนธรรมไทยทรงดำ

  วัฒนธรรมไทยทรงดำ “ ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง หรือ ไทยโซ่ง ” หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาไทย คนไทยเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ลาว หรือ ลา...